ผู้เขียน หัวข้อ: Mitsubishi A6M Zero 1/48 TAMIYA นอกไลน์  (อ่าน 12796 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ gon pumjorn

  • Verified User
  • กัน-โอตะ
  • *
  • กระทู้: 3,234
  • Like: 97
  • เพศ: ชาย
Mitsubishi A6M Zero 1/48 TAMIYA นอกไลน์
« เมื่อ: พฤศจิกายน 29, 2019, 01:45:12 PM »
มิตซูบิชิ เอ6เอ็ม ซีโร่


  Zero fighter
ที่หลายคนอาจจะรู้จักกันดี หนึ่งในฐานะนกเหล็กที่มีชื่อเสียงที่สุดของสงครามโลกครั้งที่ 2
 ซึ่งนับได้ว่าเป็นเครื่องบินขับไล่ที่ดีที่สุดของญี่ปุ่นในยุคสมัยนั้น

ซีโร่เซน ถูกออกแบบและสร้างขึ้นจากความต้องการของกองทัพเรือญี่ปุ่นในปี 1937
เพื่อมาทดแทนเครื่องบินรบในรุ่นก่อนหน้านั้นคือ A5M ที่ผลิตโดยบริษัทมิตซูบิชิ

ความต้องการเป็นที่หนึ่งเหนือน่านฟ้าในสงครามโลกครั้งที่ 2
ทำให้โจทย์ในการสร้างเครื่องบินรบรุ่นใหม่ ต้องดีกว่าในทุกๆด้าน

ความเร็วที่ต้องมีมากกว่า 310 Mph

และระดับความสูงที่ต้องมีมากถึงเกือบ 3,000 เมตร
ภายในระยะเวลาเพียง 3 นาทีครึ่ง
 อีกทั้งต้องมีความคล่องแคล่วหลบหลีกได้ดี และพิสัยที่ดีกว่าเครื่องบินรบทุกรุ่นที่เคยมีมา

แม้โจทย์ความต้องการขอกองทัพเรือญี่ปุ่นจะดูเกินจริงไปมาก
 แต่การสร้างสิ่งที่ไม่เคยมีอยู่จริง จนสำเร็จ ก็เกิดขึ้นได้จริง
จากบริษัทเดียวที่ยินดียอมรับความท้าทายนี้ นั่นก็คือ
บริษัทมิตซูบิชิ โดยมี Jiro Horikoshi นักประดิษฐ์หนุ่มเป็นผู้นำการออกแบบ


ความโดดเด่นของ ซีโร่เซ็นที่ทำให้คู่ต่อสู้ต้องหวาดกลัว นั่นคือความคล่องตัว
ทั้งการใช้เครื่องยนต์ที่มีน้ำหนักเบา การลดทอนวัสดุที่ใช้ประกอบตัวเครื่อง
ทำให้ซีโร่เซ็นมีความไวกว่าคู่ต่อสู้เหนือน่านฟ้าอย่างไม่เคยมีมาก่อน

มากกว่าความไว คือความฉวัดเฉวียน ที่ทำให้ ซีโร่เซน สามารถบินหลบหลีกศัตรูได้อย่างยอดเยี่ยม

และสำคัญที่สุด คือการบินได้อย่างต่อเนื่องของซีโร่เซน
ที่ไปได้ไกลถึง 3,100 กิโลเมตร
เท่ากับการบินบนฟ้า 12 ชั่วโมง 5 นาที โดยที่ไม่ต้องหยุดพักเลยทีเดียว

แล้วภารกิจแรกของซีโร่เซนก็ได้เริ่มขึ้นที่น่านฟ้าของประเทศจีน เมืองฉงชิ่ง เมื่อวันที่ 13 กันยายน ปี 1940

ซีโร่เซนจำนวนทั้งหมด 13 ลำ สามารถสังหารเครื่องบินจีน l-15 และ l-16 ตกไปจำนวน 27 ลำภายในระยะเวลาไม่ถึง 3 นาที ซึ่งหากแลกกับความสูญเสียของซีโร่ ซึ่งมีเพียงแค่ 2 ลำเท่านั้น

ชื่อเสียงอันเลื่องลือของซีโร่เซน ยิ่งมีมากขึ้นไปอีก หลังจากผลงานที่ไม่เคยทำให้ผิดหวัง ทำให้ข่าวของซีโร่เซนนั้นมาถึงรัฐบาลอเมริกันอย่างรวดเร็ว
 แต่พวกเขาก็เลือกที่จะเพิกเฉย จนกระทั่งในที่สุด การโจมตีที่อ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์ ในเดือน ธันวาคม ปี 1941 ก็ได้เกิดขึ้น

หลังจากเหตุการณนี้จึงส่งผลให้ชาวอเมริกันที่พลาดการวางแผนรับมือกับซีโร่เซน ฮีโร่นกกระดาษในตำนาน ต้องกลับมามาวางแผนเพื่อรับมือกับอาวุธที่น่ากลัวนี้อีกนานนับปี

แม้จะรู้ถึงผลลัพธ์ของประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ 2 แต่การมองย้อนกลับไปเพื่อศึกษาถึงความน่าทึ่งของสิ่งประดิษฐ์ที่เคยเกิดขึ้นและเหตุผลของการแพ้-ชนะ
เราเรียนรู้อะไรบ้างจากการการเดินนำหน้าศัตรูหลายก้าว จนสุดท้ายเหลือเพียงรอยเท้า ให้เราได้เรียนรู้

ต้นปี 1943 สถานการณ์ของเครื่องซีโร่เริ่มย่ำแย่ลงทุกขณะ
พลังของเทคโนโลยีการบินอเมริกันกำลังเหนือกว่าจ้าวแปซิฟิกอย่างซีโร่ แค่เร่งเครื่องดิ่งหนีก็ทิ้งซีโร่ไปไกลแล้ว

ทางกองทัพเรือจึงใช้ซีโร่รุ่น A6M3 model 32 ลำที่ 904 มาทำการปรับปรุงภายใต้การควบคุมของวิศวกร "มิจิโร่ ทาคาฮาชิ" ที่มาแทนบิดาของซีโร่อย่าง "จิโร่ โฮริโกชิ" เพื่อที่จะให้จิโร่มีเวลาไปพัฒนาเครื่องสกัดกั้นรุ่นใหม่อย่าง "J2M"

วิศวกรญี่ปุ่นได้ยกเลิกปลายปีกพับได้เพื่อความแข็งแกร่งของปีก เสริมความหนาของผิวปีกเพื่อเพิ่มความเร็วในการดิ่งให้มากขึ้น (660 กม./ชม. ) ปรับปรุงระบบท่อไอเสียให้แยกออกจากกัน
 กองทัพเรือประทับใจกับเครื่องรุ่นใหม่นี้มาก พวกเขาหวังว่ามันจะสามารถตอบโต้กับเครื่อง F6F และ F4U ของอเมริกันได้

A6M5 model 52 เริ่มมาถึงแนวหน้าในฤดูใบไม้ร่วงปี 1943 แต่ก็ไม่ได้แพร่หลายนัก อเมริกันจะมาเจอจริง ๆ ก็ช่วงการรุกหมู่เกาะมาเรียน่าส์กลางปี 1944
เมื่อเครื่องซีโร่รุ่นใหม่จำนวน 108 ลำได้ทำการคุ้มกันเครื่องบินทิ้งระเบิดไปโจมตีกองเรือสหรัฐฯ แต่ก็โดนสอยตกเป็นใบไม่ร่วง แม้แต่เครื่องรุ่นใหม่ไม่สามารถช่วยพวกเขาได้ ตลอดทั้งวันญี่ปุ่นสูญเสียเครื่องบินไปกว่า 300 ลำและนักบินอเมริกันเรียกภารกิจในวันนั้นว่า "Marianas Turkey Shoot" หรือ "เทศกาลยิงไก่งวงที่มาเรียน่าส์"

ความสูญเสียมหาศาลครั้งนี้ทำให้ญี่ปุ่นไม่สามารถโจมตีในสเกลแบบนี้ได้อีก เครื่องซีโร่ที่ปรับปรุงนี้ก็ยังไม่สามารถเทียบกับเครื่องอเมริกันได้อยู่ดี มีความพยายามดัดแปลงเครื่องรุ่นนี้ให้กลายเป็นเครื่องดำดิ่งทิ้งระเบิดโดยการตัดถังเชื้อเพลิงสำรองที่ใต้ลำตัวออก แต่มีปัญหาด้านเทคนิคกับการปลดลูกระเบิดจนต้องบินกลับฐานไปแทน สุดท้ายมันก็ถูกใช้ในภารกิจคามิกาเซ่เหมือนกับเครื่องรุ่นเก่าอื่น ๆ

แม้ดูเหมือนว่าการปรับปรุงซีโร่ไปเท่าไรก็ไม่เพียงพอกับการต่อกรเครื่องรุ่นใหม่ ๆ ของอเมริกัน ทางญี่ปุ่นก็ยังคงดึงดันพัฒนากันต่อไป

1 เดือนหลังหายนะที่ศึกมาเรียน่าส์ กองทัพเรือส่งโจทย์ 4 ข้อไปยังวิศวกรนั่นคือ ต้องเกราะหนากว่านี้ อำนาจการยิงดีกว่านี้ บรรจุเชื้อเพลิงเยอะกว่าและสามารถใช้ในหน้าที่เป็นเครื่องทิ้งระเบิดได้

หัวหน้าทีมวิศวกร "เออิทาโร่ ซาโน่" จากบริษัทมิตซูบิชิจึงออกแบบให้ตัดปืนกลอากาศขนาด 7.7 มม. ทิ้งให้หมดแล้วติดตั้งปืนขนาด 13.2 มม.
เข้าไปแทนจำนวน 3 กระบอก ส่วนปืนใหญ่อากาศขนาด 20 มม. ให้ติดคงเดิมไว้ ส่วนเรื่องเกราะนั้นได้เพิ่มแผ่นเกราะเข้าไปที่ด้านหลังนักบิน ถังน้ำมันหลังห้องนักบินก็เป็นแบบอุดรอยรั่วเองได้ (self-sealing fuel tank) ส่วนปีกนั้นออกแบบมาให้สามารถติดจรวดมิสไซด์แบบไม่นำวิถีจากอากาศ-อากาศได้

แน่นอนว่าการเพิ่มนู่นเพิ่มนี่ทำให้เครื่องยนต์ซาคาเอะ 21 ที่ติดตั้งมาอย่างช้านานจะให้กำลังไม่เพียงพอ ซาโน่ได้เตือนไปยังกองทัพเรือถึงเรื่องนี้แต่ทางนาวีญี่ปุ่นก็ยืนกรานให้ใช้เครื่องแบบเดิมต่อไป

เมื่อลองผลิตเครื่องรุ่นนี้ออกมาจริงนั้นก็เป็นอย่างที่ซาโน่กังวลจริง ๆ การที่น้ำหนัดเพิ่มขึ้นมากแต่ใช้กำลังเท่าเดิมทำให้ประสิทธิภาพห่วยแตกมาก แค่นั้นยังไม่พอ ช่างเครื่องญี่ปุ่นยังไม่คุ้นกับระบบถังน้ำมันแบบอุดรอยรั่วเองได้จนทำให้การซ่อมบำรุงเป็นไปอย่างยากลำบาก กองทัพเรือจึงต้องสั่งปิดสายการผลิตไปในที่สุด

 SPEC

ผู้สร้าง: มิตซูบิชิแอร์คราฟต์คอมปะนี (ประเทศญี่ปุ่น)
ประเภท: เครื่องบินขับไล่
เครื่องยนต์: 1 × Nakajima NK1C Sakae-12
กางปีก: 12 เมตร
ยาว: 9.06 เมตร
สูง: 3.05 เมตร
พื้นที่ปีก: 22.44 ตารางเมตร
น้ำหนักเปล่า: 1,680 กิโลกรัม
น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด: 2,796 กิโลกรัม
อัตราเร็วสูงสุด: 533 กิโลเมตร/ชั่วโมง ที่ระดับความสูง 4,550 เมตร
อัตราไต่: 15.7 เมตร/ วินาที
รัศมีทำการรบ: 1,870 กิโลเมตร
พิสัยบินไกลสุด: 3,102 กิโลเมตร
อาวุธ: ปืนใหญ่อากาศ Type 99-1 Mk.3 ขนาด 20 มม. 2 กระบอก / ปืนกล Type 97 ขนาด 7.7 มม. 2 กระบอก
จำนวนที่ผลิต 10,939
ขอบคุณ ข้อมูลจาก wiki เเละ pantip ครับ

 
  ZERO 1/48 ตัวนี้ ทามิย่า ทำออกมาต่อง่ายๆ สบายๆ อะไรไม่เห็น หรือนอกสายตา ลุงตัดทิ้งหมด
หรือคิทมันผลิตมานานเเล้วด้วยมั้ง
ถ้าใครอยากเล่นสมจริงๆ ดีเทลเยี่ยมๆ ก็ 1/32 ไปเลย
ใช้สี Skull ขาวเเม่สีกะดำ 10-15 % เครื่องจริงน่าจะอมเหลือง ออกกากีนิดๆมั้งนะ เหลืองมากไปก็ไม่สวยเเหละ เน้นเทาๆดีกว่า
นี่มันโมผมนะ ไม่ได้ส่งประกวดซะหน่อย ทำไร ที่ฝืนความชอบคงไม่ดีเเน่นอน












« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 29, 2019, 03:10:05 PM โดย gon pumjorn »

ออฟไลน์ BOY

  • TG STAFF
  • กัน-โอตะ
  • *
  • กระทู้: 4,077
  • Like: 50
    • ThaiGundam
Re: Mitsubishi A6M Zero 1/48 TAMIYA นอกไลน์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 29, 2019, 05:40:27 PM »
ผมชอบนะครับ นอกจากจะได้ดูงานโมสวยๆแล้ว เรายังได้ประวัติ ความรู้ได้อ่านเพลินๆอีกด้วย รู้เลยว่าคุณ gon ต้องไปหาเรื่องราว และเรียบเรียงเขียนมาให้อ่าน ขแบคุณครับ

เสร็จไปอีกลำ รวดเร็วจริงๆ

ออฟไลน์ gon pumjorn

  • Verified User
  • กัน-โอตะ
  • *
  • กระทู้: 3,234
  • Like: 97
  • เพศ: ชาย
Re: Mitsubishi A6M Zero 1/48 TAMIYA นอกไลน์
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 29, 2019, 07:10:29 PM »
 :iconfreak: เหมือนได้ศึกษา ประวัติศาสตร์ไปด้วยครับ โดยเฉพาะรุ่นที่มีบทบาทในสงครามเยอะๆนี่ชอบเลย อาจเรียบเรียงไม่เป้ะนัก ผิดถูกขออภัยไว้ก่อนครับ ถ้าตรงไหนผิดช่วงเเจ้งด้วยนะครับ

ออฟไลน์ BOY

  • TG STAFF
  • กัน-โอตะ
  • *
  • กระทู้: 4,077
  • Like: 50
    • ThaiGundam
Re: Mitsubishi A6M Zero 1/48 TAMIYA นอกไลน์
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤศจิกายน 29, 2019, 08:09:31 PM »
ต้องขอบคุณและชื่นชมที่เรียบเรียงรวบรวมมาให้อ่านครับ :iconvsign:

ออฟไลน์ raya

  • ฝึกพ่นสีกระป๋อง
  • ****
  • กระทู้: 413
  • Like: 60
Re: Mitsubishi A6M Zero 1/48 TAMIYA นอกไลน์
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ธันวาคม 30, 2019, 12:24:53 PM »
โมสวยงานดีเช่นเคยครับ เพิ่มเตอิมเกร็ดความรู้ประวัติศาสตร์ อ่านเพลิน ขอบคูที่ทำมาใช้ชม และพิมพ์ให้อ่านครับ

ออฟไลน์ gon pumjorn

  • Verified User
  • กัน-โอตะ
  • *
  • กระทู้: 3,234
  • Like: 97
  • เพศ: ชาย
Re: Mitsubishi A6M Zero 1/48 TAMIYA นอกไลน์
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มกราคม 01, 2020, 02:36:36 PM »
 
โมสวยงานดีเช่นเคยครับ เพิ่มเตอิมเกร็ดความรู้ประวัติศาสตร์ อ่านเพลิน ขอบคูที่ทำมาใช้ชม และพิมพ์ให้อ่านครับ

ต้องขอบคุณและชื่นชมที่เรียบเรียงรวบรวมมาให้อ่านครับ :iconvsign:


ก็รวมจากหลายๆที่ครับ ขอบคุณมากครับ ไว้ต่อลงเรื่อยๆ