[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=Ja5iHWeRiuQ[/youtube]
ภาค 1 : Nineball :
http://www.thaigundam.com/forum/index.php?topic=24368.0ภาค 2 : Knight Gundam :
http://www.thaigundam.com/forum/index.php?topic=24839.0ภาค 3 : Nitigale :
http://www.thaigundam.com/forum/index.php?topic=24940.0ภาค 4 : Hi-Nu Gundam EVO :
http://www.thaigundam.com/forum/index.php?topic=25214.0ภาค 5 : XI Gundam :
http://www.thaigundam.com/forum/index.php?topic=25419.0ภาค 6 : Musha Gundam :
http://www.thaigundam.com/forum/index.php?topic=25698.0ภาค 7 : Soulgain :
http://www.thaigundam.com/forum/index.php?topic=25763.0ภาค 7 : White Glint + VOB :
http://www.thaigundam.com/forum/index.php?topic=25892.0ภาค 8 : Disastranagant :
http://www.thaigundam.com/forum/index.php?topic=26294.0ภาค 10 : Messela :
http://www.thaigundam.com/forum/index.php?topic=28457.0ภาค 11 : Genesis Gaogaigar :http://www.thaigundam.com/forum/index.php?topic=28581.0
สำหรับตัวนี้ ก็เริ่มเหมือนเดิมคือการเอาพุตตี้เหลวไปทาตรงตามรอยตัดต่างๆ
อนึ่งก้เป็นการกำหนดไปด้วยเลยว่าต้องขัดตรงใหนบ้าง เพราะตัวนี้ตะเข็บค่อนข้างเยอะพอสมควร
ชิ้นส่วนที่ต้องอุดขัด มีแค่ด้ามปืนที่มาแทนของกันดั้ม 2.0 เดิม เพราะมือเป้นคนละแบบกัน
ซึ่งการทา ต้องระวังมากไม่ให้กาวใหลไปโดนส่วนที่เสียบที่ขยับไปมาได้ เคยใส่กาวมากไปบีบจนทะลักมาแล้ว
ในส่วนของการขัด เนื่องจากตัวมันเหลี่ยมเยอะมาก เลยจะใช้แผ่นพลาสติก ติดกระดาษทรายเป้นหลัก
ข้อดีของมันคือ สามารถใส่แรงได้มาก
เนื่องจากการขัดกระดาษทรายธรรมดา เราจะใส่แรงได้ไม่เต็มที่เพราะกระดาษทรายเป็นกระดาษ การติดบนแผ่นพลาสติกที่หนาพอจะทำให้มันมีมวล ทำให้แรงที่เราใส่ไปใส่ได้เต็มประสิทธิภาพมากกว่า
คนที่ขัดโมจนชินมักจะชาชินกับการพับกระดาษทรายให้หนา เพื่อที่จะจับง่าย หรือรู้สึกว่ามันขัดง่ายขึ้น นั่นแหล่ะ ประมาณเดียวกัน
แต่ข้อเสียคือ มันจะกินเนื้อหนักกว่าเดิมนะ ขัดมากไประวังด้วย เพราะแรงที่กระทำมากขึ้น นั่นคือกินเนื้อมากขึ้น และไม่สามารถขัดพวกชิ้นโค้งๆได้ ไม่งั้นขัดไปออกมาเหลี่ยมกันพอดี
การติดผมใช้กาวน้ำแหล่ะ สำหรับกระดาษทรายน้ำก็โรยน้ำไปหน่อยก่อนขัดเพื่อให้เศษผงใหลไปตามน้ำ ยืดอายุกระดาษทราย ถ้ากระดาษเสื่อมก็ฉีกเปลี่ยนใหม่
พวกชิ้นส่วนที่มีการขยับ หรือมีโอกาศขรูด หรือถลอกกันเวลาขัด ก็ขัดกระดาษทรายลงเผื่อเอาใว้เลย
พวกตามเอวนี่แหล่ะ ด้านบนๆมีตะเข็บด้วยเหมือนกัน
พยายามสังเกตุน่ะครับว่าตรงใหนที่มันแหลมๆ ก็ขัดลบคมมันซะหน่อย อย่างในรูป สันมันคมมากมีโอกาศถลอกหรือขรูดน่องก็ขัดลบคมมันซะหน่อย
จากการออกแบบแม่พิมพ์ คือตามสันพวกนี้จริงๆจะมีพวกรอยตะเข็บอยู่นะ ถ้าไม่ขัดมันซะหน่อยจะทำให้สีถลอกง่าย
จะให้เข้าใจง่ายๆ คือหลักการออกแบบแม่พิมพ์ทั่วไป จะประกอบไปด้านเหล็ก สอง ซีก คือ ตัวแกน (Core) คือตัวด้านใต้ และตัวผิว (Cavity)
ทีนี้ ในการออกแบบอย่างง่าย ตรงจุดเชื่อมระกว่าง แกน และ ตัวผิวนี่ ไม่ว่ากรณีใดๆ มันจะต้องเกิดครีบขึ้นมาแน่นอนอยู่แล้ว เพราะเป็นเหล็ก 2 อันมาประกบกัน
ซึ่งส่วนที่ประกบกัน ยังไงก็ต้องแหลมครับ ไม่งั้นไม่สามารถถอดแม่พิมพ์ได้ หรือจะต้องมีตะเข็บขึ้นมาบริเวณเหนือส่วนโค้ง
อย่างอันนี้ กระโปรง ตรงกระโปรงมุมจะมีลักษณะเป็น < ซึ่งจะทำให้มีตะเข็บตรงปลายแหลม เลยเลยต้องขัดตะเข็บตรงนี้ทิ้ง
ส่วนใหญ่เวลาสีถลอก มักจะเป็นตรงสันมุมของแม่พิมพ์ดังรูปบนๆนี่แหล่ะ เพราะสันมันจะมีความคมมาก
ที่ต้องระวังก็พวกตามเอว ตามกระโปรงนี่แหล่ะ
อีกอันก็พวกดีเทลตามร่องด้านข้างของแม่พิมพ์นี่แหล่ะ
หลายคนที่ต่อสามก็ก หรือพวก SD จะเข้าใจดี พวกดีเทลที่ไม่สามารถวอชได้ เนื่องจากว่าด้านข้างของแม่พิมพ์ไม่สามารถที่จะลากเส้นลึกได้ ไม่อย่างงั้นจะไม่สามารถถอดแม่พิมพ์ได้
ซึ่งสมมุติว่าถ้าจะต้องการให้ตรงด้านข้างๆของแม่พิมพ์เป็นร่องลึก จำเป็นที่จะต้องออกแบบแม่พิมพ์เป็น แบบเหล็ก 3 ชิ้น
ซึ่งจากโครงสร้าง ถ้าออกแบบโดยใช้เหล็กแค่ 2 ซีก ด้านบน-ล่าง เวลาถอดแม่พิมพ์จะทำให้เหล็กติดตรงร่อง
ซึ่งการทำเหล็กแบบ3ชิ้นนี้ ต้นทุนแพงครับ และออกแบบแม่พิมพ์ยากด้วย
ซึ่งโมบันไดมักทำการแก้ไขโดย......ทำเป็นดีเทลหลอกๆครับ..... คือมีสันพอเห็นเป็นเส้น เวลาวอชมักวอชไม่ติด
ซึ่งถ้าอยากให้วอชง่าย ก็ต้องเดินลายลึกกันเอาเองครับ
ส่วนตัวผมใช้สันคัตเตอร์นี่แหล่ะ ขรูดเอา เพราะมันเล็กแหลมดี แต่ใช้บ่อยๆเปลืองตังเพราะคัตเตอร์อาร์ทไนฟ์จะบิ่นไว
ซึ่งพวกดีเทลหลอกๆนี้ วอชไม่ค่อยติดหรอกครับ และจพให้มาเดินเส้นทั้งตัวใหม่หมดก็ไม่ใหวเหมือนกัน สุดท้ายก็ลงกันดั้มมาร์คเกอร์เขียนเส้นหลอกๆเอาดีกว่า
ซึ่งเจ้าการดีไซนน์แม่พิมพ์แบบเหล็ก 3 ชิ้น หรือออกแบบแม่พิมพ์พิศดารหรือดีไซน์แปลกๆ มักจะเป็นค่ายโคโตครับ.....
ดังจะเห็นด้านข้าง ตรงก้านรันเนอร์จะเป็นขอบเหลี่ยมๆ เพราะให้เหล็ก ซ้าย-ขวา ถอดเข้า-ออกเวลาฉีดครับ ทำให้ดีเทลซ้ายขวาเป็นร่องลึกคมเป๊ะ แต่แม่พิมพ์เองก็เลยแพงตามด้วยเช่นกัน ทำให้โมโคโตแต่ละตัวแพงบ้าเลือดขึ้นทุกวันๆ
ซึ่งส่วนตัวชอบโมโคโตตรงนี้แหล่ะ พวกดีเทลหรือพวกการออกแบบแบบ 3 มิติจริงๆ โคโตออกแบบดีกว่าบันไดอีกนะ คือพี่แกออกแบบมาเน้นดีเทลอย่างเดียวแบบไม่ค่อยจะคิดเรื่องต้นทุนกันซักเท่าใหร่ ขนาดแยกน็อตต่อน็อตยังทำมาแล้ว เพราะให้ดีเทลที่เต้มประสิทธิภาพจริงๆแบบไม่เกรงใจคนซื้อหรือถามกระเป๋าตังคนต่อกันเลยทีเดียว
ซึ่งในพาร์ทดังรูป ถ้าดูดีๆจะเห้นรอยดีเทลนิดหน่อยเหมือนรอยน็อต แต่มีตะเข็บพาดตรงกลางดีเทลไปเลย
เพราะเหล็กแม่พิมพ์ถอดด้านบนกับด้านล่าง
พวกดีเทลน็อตเลยอยู่ตรงร่องตะเข็บแทน ซึ่งมันเล็กมาก ยังไงขัดโดนกระดาษทรายนิดหน่อยหายหมดแน่นอน
ซึ่งพาร์ทตรงนี้เป็นด้านหลังแขน......ผมขัดทิ้งเรียบล่ะ ยังไงก็มองไม่เห้นล่ะนะ
ซึ่งถ้าเป็นโมโคโต ผมว่าพี่แกจะทำเป็นประกบหน้าหลังเพื่อเอาดีเทล.....หรือกรณีเลวร้ายสุดพี่แกอาจทำเป็นชิ้นส่วน 4 ชิ้น เพื่อเน้นดีเทล ซ้ายขวาหน้าหลัง เอาแบบให้กระอักเลือดกันไปข้างนึง.
ว่ากันที่การขัดต่อ
พวกดีเทลระหว่างรอยตะเข็บต้องขัดกันดีๆ ไม่งั้นขัดน็อตหายวับไปแน่นอน
ดังจะเห็น ว่าโมเดลตัวนี้ตะเข็บเยอะเอาเรื่องอยู่เหมือนกัน
พวกตะเข็บที่ไม่มีดีเทลก็เอาคัตเตอร์ไสเอาเลย แล้วค่อยเอากระดาษทรายขัดต่อ
เสร็จแล้วก็เหมือนเดิม ล้างน้ำกำจัดพวกฝุ่นหรือคราบต่างๆเตรียมพ่นสี
รอทิ้งให้แห้งซักวันสองวันรอให้แห้งดีจริงๆค่อยพ่น ธรรมดาผมรอให้แห้งซักสองวันในที่ร่มนะ เพราะไม่กล้าเอาไปตากแดดอ่ะ.....
ตอนแยกชิ้นก็แยกถาดกันดีๆหน่อย เพราะสีมันค่อนข้างลายตา เทาแก่กับขาวพอแยกง่าย แต่ขาวกับเทาอ่อนนี่แยกยากพอสมคววรนะ แยกผิดนี่คงมีเซงกันพอสมควร......
รอบหน้าก็พ่นสีเหมือนเดิม....... แต่เห็นชิ้นส่วนแล้วคงต้องวอชแบบแยกชิ้นส่วนกันเป้นชิ้นๆแน่นอน เพราะชิ้นส่วนบางและเล็กมากหลายจุด ถ้าวอชตอนเป้นคัวนี่แตกแหงๆแบบไม่ต้องสงสัย....
[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=OGDh81kkhWE[/youtube]