[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=duuec5Ybtps&feature=related[/youtube]
เริ่มต้นมาจากคราวที่แล้ว อย่างที่บอกว่าสีมันแห้งช้ามาก เลยเผลอไปจับตอนสีมันหยุ่นๆเลยเป็นรอย ต้องล้างสีพ่นใหม่ = =''
ซึ่งเราจะลองล้างด้วยน้ำยาล้างเล็บ อุปการะโดยพี่คนนึงแถวนี้ ไม่เสียตังซักบาท 555
สำหรับผม แนะนำให้ใช้กระดาษทิชชู่เช็ดดีกว่านะ แต่ถ้าฮาร์ดคอร์ก็แช่แล้วเอาภู่กันไซร์ไปเลย
รวมๆ มันก็กัดน่ะครับ แต่ทำไมคราวนี้กัดแรงก็ไม่รู้ = =''
ไม่แน่ใจเพราะโดนสีรองพื้นกับ สี SNP ที่มันกัดพลาสติกหรือเปล่า ธรรมดาล้่างมันก็ไม่กัดขนาดนี้
แต่จะให้ดีจริงๆ ทินเนอร์กันเซ่กับไกอานี่แหล่ะ ล้างสีได้เนี๊ยบจริงๆ เพราะมันแทบไม่กัด หรือไม่กัดเลย แต่ล้างทีเสียดายตังเอาเรื่องเหมือนกัน
ส่วนตัว ถ้าจะล้าง ใช้ทินเนอร์กันเซ่กับไกอานี่แหล่ะ ดีที่สุดแล้ว
มาวอชกันมั่ง ด้วยสีเอนาเมล
ส่วนตัวผมจะใช้น้ำยาไฟแช็คนะ เพราะถูก และกัดพลาสติกน้อย (เอนาเมลกัดพลาสติกเป็นอย่างไร ไปดูกระทู้ที่แล้ว)
ถ้าจะให้ดีต้องใช้น้ำมัน Zippo แต่แพงมาก บ้านเราคงไม่มีใครกล้าใช้กันหรอก 555
ซึ่งอันที่จริง ผมว่าที่มันกัดเนี่ย ไม่ใช่เพราะตัวทำละลายนะ แต่เป็นที่สีมากกว่า สีที่เข้าไปตามร่อง พอแห้งการขยายตัว - หดตัว มันทำให้พลาสติกแตก เพียงแต่ Zippo มันแห้งไวมากๆ มันเลยไม่กัด เพราะผลมีน้อย
อันที่จริงถ้าไม่ใปหยอดตามร่องส่วนที่ประกบสวมยัด ยังไงก็ไม่แตกหรอก
ทางที่ดีคือวอชรายชิ้น แต่เสียเวลามากๆ เราเลยชอบจะประกอบเป็นตัวแล้ววอชทีเดียวเลย ประหยัดเวลากว่า
สังเกตุการใหล ว่าเหลวไป - น้อยไปจากกระดาษทิชชู่ ถ้ามันแทบไม่ใหล แปลว่าเหลวไป ถ้ามันใหลแล้วจาง ก็คือผสมเหลวไป
การวอช ผมวอชเฉพาะตรงที่เป็นร่อง อย่างรอยกระดุม มันไม่มีร่อง ยังไงก็วอชไม่ติดหรอกเสียเวลาเปล่า
โมบันไดมักแยกชิ้นเน้นความง่าย ชิ้นส่วนเลยน้อย แต่แม่พิมพ์มีขีดจำกัด ส่วนโมโคโตชอบเน้นลายละเอียด ถ้าเป็นโมโคโตคงแบ่งกระโปรงเป็น2ชิ้นให้เราอุดขัด เพื่อให้กระดุมมีร่องให้เราวอชได้..... ชิ้นส่วนมันเลยเยอะ นี่แหล่ะ โคโต
ส่วนตัวเช็ดคราบออก ผมก้ใช้น้ำมันไฟแช็คกับกระดาษทิชชู่น่ะ
ส่วนรอยกระดุมมันวอชไม่ติดอยู่แล้วล่ะ ที่ไม่วอช เพราะร่องมันไม่ลึก เอาเอนาเมลมาวอช พอเช็ดก็หายหมดล่ะ เลยใช้ปากกาเคมีเขียนเอา
ถ้าเขียนพลาดก็เอาน้ำมันไฟแช็คเช็ดออก
ซึ่งถ้าเป็นกันดั้มมาร์คเกอร์ แห้งแล้วแห้งเลย เช็ดไม่ออกนะ เลยใช้ปากกาเคมีเอา ซึ่งเราสามารถเช็ดให้เหลือรอยจางๆแบบ Real Touch ได้ด้วย
แต่ปากกาเคมีต้องพ่นเครียร์ทับนะ ไม่งั้นลอกติดมือมาเลย เพราะหมึกมันไม่แห้ง
ทำความสะอาด ปัดฝุ่นด้วยภู่กันหัวใหญ่ๆ เพื่อทำความสะอาดฝุ่นจากการวอช หรืออื่นๆ แยกชิ้นส่วนให้ดีๆ ขั้นตอนนี้สำคัญมาก เพราะพ่นเครียร์ไปแล้วแก้ตัวไม่ได้แล้ว
หลังพ่นเครียร์ด้าน (ไกอา) ความเงามันจะดรอปลง
ซึ่งผมใช้เครียร์ไกอา เพราะมันแห้งไวนี่แหล่ะ ส่วนเครียร์ของ SNP เท่าที่เคยลองมาดูก็ดีครับ แต่มันกัดพลาสติก....
ซึ่งตอนทำ Blade Liger ลองเอาเครียร์มัน SNP พ่นทับชิ้นกระจก ชิ้นกระจอขึ้นเป้นเม็ดๆเนื่องมาจากมันกัดพลาสติกเลยทีเดียว โดยเฉพาะที่ดาบแสง เพราะพ่นเยิ้มมาก ต้องเอากระดาษทราบเบอร์ 2000 ขัดกัดกว่าจะใสได้เหมือนเดิม
ซึ่งอีกอย่าง เครียร์ SNP แห้งช้ามากๆ ระดับต้องรอข้ามขืนกันเลยทีเดียวกว่าจะจับได้ไม่งั้นสีมันจะนิ่มๆ
ซึ่งเท่าที่ลองดู สี SNP น่าจะเป้นสีรองพื้นน่ะ ถ้าพ่นไปแล้วต้องทิ้งข้ามคืนไปเลยกว่าจะหยิบจับได้ ไม่งั้นสีมันจะนิ่มๆ อะไรนิดหน่อยก็เป็นรอยแล้ว
ซึ่งสีไกอาก็เป็น แต่น้อยกว่า SNP มีแค่สีกันเซ่ที่แทบพ่นเสร็จหยิบจับได้ตามปรกติเลย ซึ่งเรื่องแรงยึดเกาะนี่ชั้นหนึ่งจริง แต่รอข้ามวันกันเลยทีเดียว ซึ่งถ้าเป็นชั่วโมงเร่งด่วนอาจไม่ค่อยเวอร์คนัก สู้ไกอากับกันเซ่ไม่ได้ ที่มีเวลาแห้งไวกว่าที่ราวๆชั่วโมงเอามาจับเล่นได้ แต่ SNP คงต้องทิ้งเป็นคืนกว่าจะเอามารวมร่างหรือหยิบจับได้ตามปรกติ แต่แรงยึดเกาะมันดีจริงๆถ้าแห้งสนิทแบบทิ้งข้ามคืนจริงๆ เรียกว่าแลกกัน รวมๆมันใช้ยากนะ แต่ไม่ยากเกินจะศึกษาเพื่อใช้งาน
ล้างสี............รอบ 2 ..........ไม่กั้นมันแล้วสีน้ำเงินเนี่ย ฮือๆ
รวมๆ ผมใช้เครียร์กึ่งมันกึ่งด้านไกอาน่ะ ที่ใช้เครียร์ปิดทับ ทำให้สีหมองลงแต่เพราะอยากให้มันเข้ากับเพื่อนๆตัวอื่นๆน่ะ ถ้าเงาเลี่ยมไปมันจะไม่เข้าเซต + กะเก็บหลายอยู่แล้ว
รวมๆไม่ใช่งานที่ยากมาก เอาจริงๆปั่น2-3 วันก็เสร็จแล้ว งานที่ง่ายขึ้นแลกกับราคาที่แพงขึ้น ผมโอเคครับ แล้วช่วยออกกันให้ครบๆหน่อยเถอะ
[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=0qu3x5Vq13s[/youtube]
รอบหน้า กลับมาลงนรกกั้นพ่นกันต่อกับ D-Style Noblesse Oblige...........