M41 Walker bulldog 1/35 Tamiya scale model
สวัสดีครับ นำงานรถถัง 1/35 คันแรกมานำเสนอ
---------------------------------------
ประวัติรถถัง M41
M41 เป็นรถถังเบาของอเมริกัน เริ่มปรากฎตัวในปี 1951 ใช้พลหทาร 4 คนควบคุม มีน้ำหนัก 25.9 ตันยาวประมาณ 8.2 เมตร กว้าง 5.8 เมตร เครื่องยนต์มีกำลัง 500 แรงม้า ทำความเร็วสูงสุด 72 km/hr.
จัดเป็นรถถังยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยติดตั้งปืนขนาด 76มม. เพื่อทดแทนรถถัง M24 Chaffee โดยปรับปรุงป้อมปืนให้แข็งแรง ระบบควบคุมการยิงและการบรรจุกระสุนใหม่ ชื่อ Walker Bulldog ได้รับการตั้งตามนายพล W.W.Walker ซึ่งเสียชีวิตในสงครามเกาหลี
พลขับนั่งที่ด้านหน้าซ้าย และสามารถมองผ่านกล้อง pericscope สามตัว ด้านล่างมีช่องทางหนีฉุกเฉิน ส่วนผู้บัญชาการรถถังและพลยิง นั่งด้านขวา ส่วนพลบรรจุกระสุนนั่งด้านหลังซ้าย พลยิงจะสามารถมองผ่านกล้องซึ่งติดตั้ง 360 องศา
รถถัง M41 เริ่มถูกทดลองใช้และพัฒนาในช่วงสงครามเกาหลี โดยทางกองทัพอเมริกันต้องการรถถัง ขนาดเขาที่สามารถลำเลียงทางอากาศ และต้องมีสมรรถณะที่ทัดเทียมกับรถถังรัสเซีย แต่มี M41 ใช้งานในสงครามเกาหลีน้อยมาก รถถัง M41 จะมีบทบาทมากขึ้น และประสบความสำเร็จอย่างมากในสงครามเวียดนาม โดยในปี 1964 M41 ได้รับการบรรจุเป็นรถถังหลักทดแทน M24 Chaffee โดยส่งมอบให้ ARVN (Army of the Republic of Vietnam - กองกำลังเวียดนามใต้ภายใต้การสนับสนุนของอเมริกัน) ซึ่งด้วยความน่าเชื่อถือของเครื่องยนต์ การควบคุมได้ง่าย และขนาดที่พอเหมาะกับภูมิประเทศ ทำให้ M41 มีบทบาทในปฎิบัติการสำคัญๆหลายครั้ง
M41 ยังได้เข้าประจำการในกองทัพของหลายประเทศได้แก่ บราซิล 300 คัน สเปน 180 ไต้หวัน 675 คัน นอกจากนี้ M41 ยังได้เข้าประจำกองทัพไทยจำนวน 200 คัน ซึ่งมีบทบาทออกแสดงในงานวันเด็กหลายปีติดๆกัน และบางโอกาสพิเศษก็ออกแสดงวิ่งเป็นแถวรอบทำเนียบด้วย ก่อนจะเพิ่งปลดประจำการไปเมื่อไม่นานมานี้
---------------------------------------
แนวคิดทำสี color modulation
สำหรับแนวการทำสีนะครับ คันนี้ประกอบแบบตามกล่องเลย ไม่ได้ดัดแปลงใดๆ โมเดลของ Tamiya ต่อง่ายและลงตัวมากๆ ส่วนเทคนิค color modulation นี้เป็นเทคนิคที่ผมชอบมาก หัดมาหลายคันแล้วและคันนี้ก็ทดลองทำอีกครับ ... พูดถึงเทคนิคนี้แล้ว เคยอ่านจากกระทู้ของคุณ Totekkopf กล่าวไว้ว่าเป็นเทคนิคที่ประยุกต์มาจากศิลปะแนว Romanticism (ศิลปะจินตนิยม) ผมสงสัยเลยลองไปอ่านดูครับ ว่าศิลปะแนวนี้คืออะไร
ออกตัวก่อนว่าแนวคิดผมคือ ผมมองโมเดลเป็นองค์ประกอบหลายๆอย่างนะครับ ทั้งงานศิลปะ งานประดิษฐิ์ งานออกแบบ วางแผน ซึ่งการทำโมสักตัวก็ใช้หลายๆอย่าง ส่วนผมเองชอบให้น้ำหนักกับมุมมองแบบที่เห็นโมเดลเป็นงานศิลปะครับ ผมอยากให้โมเดลเป็นงานที่แสดงออกถึงอารมณ์ของผม แม้ว่างานโมเดลจะต้องมีการใช้ความคิด การวางแผน การวางองค์ประกอบเป็นขั้นเป็นตอน แต่สุดท้ายแล้ว การตวัดพู่กัน เร็ว ช้า ความอ่อนเข้มของสี การใส่เทคนิค มาก น้อย หรือทำอะไรแบบไหนก็เป็นส่วนที่เว้นว่างไว้ให้ปลดปล่อยอารมณ์ออกมาได้ ซึ่งผมก็สังเกตว่างานโมเดลแต่ละคนที่ทำกันเก่งๆถึงแม้ใช้เทคนิคคล้ายกัน ขั้นตอนคล้ายกัน แต่งานจะออกมาไม่เหมือนกัน คล้ายกับว่ามองปุ๊ปก็พอจะรู้ว่างานของใคร เหมือนมีลายเซ็นต์กำกับอยู่ในตัวงาน
กลับมาที่งานแนวจินตนิยมนะครับ ผมอ่านจาก web
http://th-th.facebook.com/note.php?note_id=165640046803783ซึ่งเขียนไว้ดีมาก สรุปคร่าวๆคือ งานศิลปะแนวนี้เป็นงานในยุค modern ซึ่ง อยู่ในยุคถัดจากงานแนว neo-classic ที่เน้นความสมจริงของภาพ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ทางศิลปะ แต่งานแนว Romanticism จะให้ความสำคัญกับอารมณ์มากกว่าโดยพยายามเร้าสะเทือนอารมณ์ของผู้ชม เช่นการตัดกันของน้ำหนัก แสงเงา ความสว่างและความมืด
งานแนวนี้มีขึ้นในยุคครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นช่วงของการปฎิวัติอุตสาหกรรม โดยเป็นการต่อต้านแนวความคิดแบบเดิมและอีกอย่างการเริ่มมีกล้องถ่ายรูป ทำให้ศิลปะแนว classic แบบเดิมเสื่อมความนิยม เป็นรอยต่อที่ศิลปะเริ่มเข้าสู่ยุคใหม่ที่เน้นการแสดงออกของศิลปินแบบปัจเจกบุคคล และไม่ศิลปะไม่จำเป็นต้องรับใช้ทุน การเมือง หรือศาสนาอีกต่อไป
ภาพที่มีชื่อเสียงมากและถือเป็นตัวแทนของศิลปะแนวนี้คือภาพชื่อ The Raft of the "Medusa" - แพเมดูซา โดย เดอลาครัว
ภาพสะท้อนเรื่องจริงในยุคนั้น เกี่ยวกับเหตุการณ์เรือแตกและมีลูกเรือติดอยู่บนเรือโดยไม่มีใครรู้ว่าจะรอดถึงฝั่งหรือไม่ ศิลปินเน้นแสงสว่างและมืดที่ตัดกันจำนวนมาก และอารมณ์ของผู้คนบนแพที่มีทั้งมีหวังและสิ้นหวัง
ภาพอื่นๆนะครับ
ส่วนภาพนี้ผมชอบ ลองคลิ๊กดูแบบขยายได้ตาม link ข้างล่างครับ ->
http://www.bartongalleries.com/images/Waterhouse_The%20Lady%20of%20Shallot.jpgดูแล้วเหมือนจะเป็นภาพถ่าย แต่ดูดีๆจะพบว่าภาพวาดภาพนี้ยังคงความสมจริงขององค์ประกอบทางกายภาพ อยู่ทั้งคน เรือ และสิ่งแวดล้อม แต่มีการเน้นสีแสงที่ให้อารมณ์มากกว่าปกติ รายละเอียดบางอย่างเช่นเรือ และผ้าที่วางพาดมีมากกว่าปกติ รวมทั้งใบหน้าท่าทางของหญิงสาวที่แสดงออก ลองจ้องมองภาพนานๆอาจรู้สึกเหมือนอยู่ในภวังค์เข้าไปอยู่ในอีกโลกที่เหนือจริงครับ (ไม่รู้ผมรู้สึกคนเดียวหรือเปล่า อิอิ)
โม้นอกเรื่องไปซะเยอะสรุปคือเทคนิค color modulation เป็นการเน้นแสงเงาที่มากกว่าปกติ ทำให้ตัวโมเดลที่มีขนาดเล็กกว่าของจริง สามารถแสดงมิติ และดูมีน้ำหนัก มากขึ้น อาจลองดูภาพเปรียบเทียบระหว่างโมเดลกับของจริง ภาพข้างล่าง แล้วก็ชมต่อกันยาวๆไปเลยครับ
หมดแล้วครับ ขอบคุณที่ติดตามชม
-------------------
WIP แวะไปชมได้ครับ
ขั้นตอนการประกอบ ทำสี ->
http://thaimodel-kit.blogspot.com/2011/07/wip-m41-walker-bulldog-135-tamiya-scale.htmlส่วนการ weathering คันนี้ผมลองเทคนิคใหม่ด้วยการใช้สี acrylics ติดตามอ่านได้ที่นี่ครับ ->
http://thaimodel-kit.blogspot.com/2011/07/acrylics-weathering.html