เข้ามาติดเรื่องครับ ใช้สลิปไปแจ้งความเลยครับ ข้อหาช่อโกงครับ แต่เป็นดดีแพ่งครับ ไม่ติดคุก ต้องประจานสาบแช่งครับ คนพวกนี้
ปล.ถ้ามีผู้เสียหายสัก7-8คนขึ้นไป ข้อหาเปลี่ยนครับเป็นช่อโกงประชาชน มีโทษจำคุกครับ กลายเป็นคดีอาญา
ความผิดฐานฉ้อโกง เป็นความผิดทาง "อาญา" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 เป็นลักษณะความผิดทีมีองค์ประกอบ
คือ
1. มีเจตนาทุจริต
2. หลอกลวงผู้อื่น โดยการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ หรือ ปกปิด ข้อความจริง อันควรต้องแจ้ง
3. ผลจากการหลอกลวง หรือ แจ้งข้อความอันเป็นเท็จ หรอ ปกปิด ข้อความจริง อันควรต้องแจ้งนั้น
ทำให้ได้ไปซึ่ง "ทรัพย์สิน" จากผู้ถูกหลอกลวง หรือ บุคคลที่สาม
4. ผู้นั้นกระทำความผิดฐาน "ฉ้อโกง"
5. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน สามปี ปรับไม่เกิน 6 พันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
นอกจากนี้ ยังครอบคลุมไปถึง การหลอกลวงโดยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ทำให้ผู้ถูกหลอกลวง หรือ บุคคลที่สาม
ทำเอกสาร หรือ ถอนเอกสารสิทธิ อย่างหนึ่งอย่างใด ก็เข้าข่ายความผิดอาญา ฐานฉ้อโกง ด้วยเช่นกัน
ส่วนความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 นั้น เป็นลักษณะความผิดที่มีองค์ประกอบ
เช่นเดียวกันกับ มาตรา 341 แต่ผู้ได้รับความเสียหายจะมีจำนวนมาก เพราะตาม ปอ.ได้ใช้ข้อความว่า
"ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชน" โดยจะมีอัตราโทษที่สูงกว่ามาตรา 341 คือ จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือ
ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
แต่อย่างไรก็ดีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ตาม ปอ.มาตรา 343 นั้น ถึงกฎหมายจะใช้คำว่า "ประชาชน" แต่ก็ได้มี
คำพิพากษาศาลฎีกาได้เคยวินิจฉัยเอาไว้ โดยที่ไม่ได้ยึดจำนวนของผู้เสียหายว่าจะมาก หรือ น้อย แต่จะพิจารณาถึง
เจตนาของผู้กระทำความผิดเป็นหลักว่าต้องการ ฉ้อโกง ประชาชน หรือ เป็นรายบุคคลเป็นสำคัญ (ฎีกาที่ 5292/2540)
แต่กรณีการซื้อขาย มีการชำระราคาไปแล้ว แต่ยังไม่ได้มีการส่งมอบทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้น อาจจะเป็นการผิดสัญญา
ทางแพ่งในเรื่องซื้อขาย และ เป็นความผิดทางอาญา ฐานฉ้อโกง ได้เช่นกัน จะเรียกได้ว่าเป็น "คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา"
ซึ่งหมายความว่า การกระทำความผิดครั้งเดียว จะมีความรับผิดในทางแพ่ง และ เป็นความผิดทางคดีอาญา ด้วยในคราวเดียวกัน
และ ไม่ตัดสิทธิของผู้เสียหาย ที่จะดำเนินคดีทั้งทางแพ่ง และ ทางอาญา