มาช่วยเพิ่มเติมครับ
การต่อแบบนี้เรียกว่าการต่อวงจรแบบอนุกรมครับ
วงจรอนุกรม
เป็นการนำเอาเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลดหลายๆ อันมาต่อเรียงกันไปเหมือนลูกโซ่
กล่าวคือ ปลายของเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวที่ 1 นำไปต่อ กับต้นของเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวที่ 2 และต่อเรียงกันไปเรื่อยๆ
จนหมด แล้วนำไปต่อเข้ากับแหล่งกำเนิด การต่อวงจรแบบอนุกรมจะมีทางเดินของกระแสไฟฟ้าได้ทางเดียวเท่านั้น
ถ้าเกิดเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวใดตัวหนึ่งเปิดวงจรหรือขาด จะทำให้วงจรทั้งหมดไม่ทำงาน
ผลจากการต่อวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรม
- กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านในวงจรเท่ากันหมด
- ความต้านทานรวมของวงจรเท่ากับผลบวกของความต้องการแต่ละตัว
- แรงดันไฟฟ้ารวม��ายในวงจรจะเท่ากับผลบวกของแรงดันตกคร่อมของตัวต้านทานแต่ละ ตัว
- ถ้าจุดหนึ่งจุดใด��ายในวงจรขาดไฟฟ้าจะดับหมดทุกจุด
เพิ่มอีกนิด ก็คือการต่อแบบอนุกรมจะทำให้มีค่าความต้านทานเพิ่มขึ้นครับ
เหมือนเราต่อลำโพงแบบอนุกรมเช่นเดียวกับหลอดไฟก็ทำให้เสียงเบาลงครับเพราะจะทำให้ค่าความต้านทานของลำโพงสูงขึ้น
ก็คือเช่นเดียวกับหลอด LED ครับ ยิ่งต่ออนุกรมเยอะประสิทธิ��าพในการก็ลดลง จึงจำเป็นต้องเพิ่มแรงดันไฟเข้าไปอีก
กล่าวคือ ถ้าหากต่อวงจรแบบอนุกรมจะทำให้หลอดไฟทุกหลอดติดสว่างเท่ากันหมดครับแต่ว่าสว่างมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับ
แรงดันไฟแหล่งกำเนิดครับเพราะจะใช้กระแสเยอะกว่าวงจรแบบขนาน
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
วงจรขนาน
เป็นการนำเอาต้นของเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกๆ ตัวมาต่อรวมกัน และต่อเข้ากับแหล่งกำเนิดที่จุดหนึ่ง นำปลายสายของทุกๆ ตัวมาต่อรวมกันและนำไปต่อกับแหล่งกำเนิดอีกจุดหนึ่งที่เหลือ ซึ่งเมื่อเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละอันต่อเรียบร้อยแล้วจะกลายเป็นวงจรย่อย กระแสไฟฟ้าที่ไหลจะสามารถไหลได้หลายทางขึ้นอยู่กับตัวของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ นำมาต่อขนานกัน ถ้าเกิดในวงจรมีเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวหนึ่งขาดหรือเปิดวงจร เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เหลือก็ยังสามารถทำงานได้ ในบ้านเรือนที่อยู่อาศัยปัจจุบันจะเป็นการต่อวงจรแบบนี้ทั้งสิ้น
คุณสมบัติที่สำคัญของวงจรขนาน
1. กระแสไฟฟ้ารวม ของวงจรขนาน จะมีค่าเท่ากับกระแสไฟฟ้าย่อยที่ไหลในแต่ละสาขาของวงจรรวมกัน
2. แรงดันไฟฟ้าตก คร่อมส่วนต่างๆ ของวงจร จะเท่ากับแรงดันไฟฟ้าที่แหล่งกำเนิด
3. ความต้านทานรวม ของวงจร จะมีค่าน้อยกว่าความต้านทานตัวที่น้อยที่สุดที่ต่ออยู่ในวงจร
กล่าวโดยสรุปก็คือเมื่อต่อวงจรแบบขนานก็จะทำให้หลอดไฟแต่ละหลอดสว่างไม่เท่ากันครับ
รู้สึกว่าหลอดสุดท้ายจะสว่างมากที่สุดนะครับถ้าผมจำไม่ผิด
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
วงจรผสม
เป็นวงจรที่นำเอาวิธีการต่อแบบอนุกรม และวิธีการต่อแบบขนานมารวมให้เป็นวงจรเดียวกัน ซึ่งสามารถแบ่งตามลักษณะของการต่อได้
2 ลักษณะดังนี้
3.1 วงจรผสมแบบ อนุกรม-ขนาน เป็นการนำเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลดไปต่อกันอย่างอนุกรมก่อน แล้วจึงนำไปต่อกันแบบขนานอีกครั้งหนึ่ง
3.2 วงจรผสมแบบ ขนาน-อนุกรม เป็นการนำเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลดไปต่อกันอย่างขนานก่อน แล้วจึงนำไปต่อกันแบบอนุกรมอีกครั้งหนึ่ง
คุณสมบัติที่สำคัญของวงจรผสม
เป็นการนำเอาคุณสมบัติ ของวงจรอนุกรม และคุณสมบัติของวงจรขนานมารวมกัน
ซึ่งหมายความว่าถ้าตำแหน่งที่มีการต่อแบบอนุกรม ก็เอาคุณสมบัติ
ของวงจรการต่ออนุกรมมาพิจารณา ตำแหน่งใดที่มีการต่อแบบขนาน
ก็เอาคุณสมบัติของวงจรการต่อขนานมาพิจารณาไปทีละขั้นตอน
ยังมีการต่อวงจรอีก 2แบบนะครับคือแบบเดลต้า(D) และสตาร์ครับ(Y)
การหาค่าของวงจรผสมซึ่งผมก็เรียนมาและเป็นลูกศิษย์ที่ดีของอาจารย์ก็ได้คืนท่านไปหมดแล้ว
แบบที่คุณ chern พูดก็ถูกครับหลอด LED(Light Emiting Diode) หลอดไดโอดเปล่งแสง
เป็นอุปกรณ์ที่ผลิตมาจากสารกึ่งตัวนำครับซึ่งจะสามารถเป็นตัวเหนี่ยวและตัวนำไฟฟ้าได้
ถ้าหากต่อถูกขั้ว อาโนด( + ) คาโธด( - ) ก็จะทำให้กระแสไหลผ่านได้ครับแต่ว่ากระแสต้องมี 0.7V. ขึ้นไปครับ
จึงจะทำให้อุปกรณ์ที่เป็นสารกึ่งตัวนำทำงานครับ
ถ้าหากต่อผิดขั้ว อาโนด( + ) คาโธด( - ) ก็จะทำให้มีค่าความต้านทานสูงครับไฟฟ้าก็จะไม่สามารถผ่านไปได้ครับ
วันนี้ผมก็ขอจบวิชาอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้นเพียงเท่านี้ครับ
เครดิต
ขอบคุณเว็บ
http://www.chait.ob.tc และ
http://www.school.net.th/ ครับที่ให้ข้อมูลดีๆเรื่องอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้นครับ