[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=YhdNjzX4waA[/youtube]
F-22A Raptor "EMD Phase 2"
TSF (Tactical Surface Fighter)
ในโลก(เกมส์) ของ Muv luv alternative นั้น โลกได้ถูกคุกคามจากสิ่งมีชิตต่างดาว มีชื่อเรียกว่า BETA (Beings of the Extra Terrestrial origin which is Adversary of human race) โดยค้นพบครั้งแรกที่ดาวอังคาร หลังจากนั้นก็บุกมาทำรังที่ดวงจัทนร์ และสุดท้าย ปี1971 ก็ได้ยกพลบุกโลก เพื่อทำการต่อสู้กับ BETA นี้ จึงมีการพัฒนาอาวุธหนักชนิดใหม่เรียกว่า TSF โดยหลักการคือ เป็นอาวุธยึดพื้นที่ และป้องกันการรุกราญของ BETA เป็นหลัก เนื่องจากการสู้รบเน้นภาคพื้นดิน และจำนวนของ BETA ที่มีจำนวนมาก ซึ่งในเกมส์ MUV LUV นี้ตัวหุ่นจะใช้เป็นชื่อเครื่องบินรบที่มีอยู่จริง แต่กลายเป็นหุ่นยนต์รบแทน เนื่องจากเน้นการป้องกันการรุกราญ และต่อต้่านพวกBETA เป็นหลัก ซึ่งเนื่องจากจะำกจัดกลุ่ม BETA ที่ทำการรุกราญนั้นจำเป็นที่จะต้องบุกเข้าไปใน "รัง" เป็นหลัก ตัวหุ่นจึงมีการออกแบบให้มีทั้งการรบแบบประชิด และแตกแขนงการสู้รบไปเป็นแบบต่างๆ เช่นติดตั้งโล่ มิซซายยูนิต และอื่นๆอีกมากมายตามรูปแบบการรบ
อุปกรณ์หลักพื้นฐาน มันติดตั้ง Jump Unit ซึ่งก็คือเครื่องเจตด้านหลัง และแขนกลสำหรับติดตั้งอาวุธสำรอง
ซึ่ง TSF นี้จะสามารถแบ่งเป็นยุคต่างๆได้ 3 Generation คือ
1St Generation - หุ่นกระป๋องออกมาตาย สู้กับพวก BETA ได้แต่พวกลูกกระจ็อก แต่ไม่สามารถรับมือฝูง BETA ขนาดเยอะๆได้ มักรับบทออกมาให้โดนเชือดเล่นตามประสาตัวประกอบเกรด C เช่น F-4
2nd Generation - เริ่มมีความคล่องตัว และประสิทธิภาพที่สูงขึ้น อัตรารอดของนักบินสูงขึ้น(แต่ก็ตายอยู่ดี) มักให้ตัวประกอบมีเกรดขับ เช่น F-15, F-16, F-18, MIG-25, MIG-27, MIG-29
3Rd Generation - กลายเป็นกันดั้ม ตายยากถ้าบทไม่พาไป ประสิทธิภาพสูง ราคาแพงลากเลือด เช่น F-22 , ทาเคมี่, SU-47, Typhoone , ชิรานุย, F-35
2.5 Generation - เนื่องจากหุ่นยุค 3 ราคาแพงมาก เลยมีการเอายุค 2 มาอัพเกรดโดยใช้เทคโนโลยีของ ยุค 3 มาใช้ กลายเป้น 2.5 เช่น SU-47, F-18E/F
F-22A Raptor
เป็น TSF จากอเมริกา ที่ตั้งใจมาพัฒนาขึ้นเพื่อมาแทนที่ F-15 โดยยึดหลักคอนเซปว่า จะต้องเป็นหุ่นยุค 3 แบบแท้ๆ ไม่ใช่พวกหุ่นยุค 3 คาบเส้น แต่เห็นหุ่นยุค 3 ที่มีประสิทธิภาพสูงจริงๆ และนอกจากนี้ยังต้องการพัฒนาให้มีความสามารถในการพรางตัว (สเตล) และเน้นหลักไม่ใช่แค่การสู้รบกับ BETA เท่านั้น แต่ออกแบบมาเพื่อรับมือกับ TSF ด้วยกันเองอีกด้วย
ตัวหุ่นพัฒนาโดยบริษัท
Lockheed Martin Lockweed Mardin โดยใช้เฟรมแบบใหม่ ลดการตรวจจับของเรดาห์ จัมป์แพคแบบพลังเร่งต่อน้ำหนักสูงสุด
ซึ่งในระหว่างพัฒนาก่อนการผลิตจำนวนมาก ตัวหุ่นผลิตแบบจำนวนจำกัดนั้นได้รับการอัพเกรดเป็น EMD (Engineering and Manufacturing Development) โดยลดเสียงในการเคลื่อนใหวให้เงียบขึ้น แม้แต่เสียงเดินหรือสะเทอนของพื้นก็ลดลง ความคล่องตัวสูงขึ้น ลดการใช้พลังงาน
ซึ่ง F-22 แบบผลิตจำนวนมากจริงๆจะเป้นสีเทา ส่วน EMD เครื่องทดสอบที่ถูกส่งไปให้หน่อวย อินินิตี้ใช้จะเป็นสีดำ
โดย F-22A นั้น เป็นหนึ่งใน Big three ซึ่งก็คือ 3 TSF ที่จัดว่าแกร่งที่สุด ได้แก่ takemikazuchi, F-22A Raptor, Su-47 Berkut
F-22
ของจริง ถูกพัฒนาโดย Lockheed Martin โดยชนะจากการแข่งกันระหว่างตัวต้นแบบ YF-22 กับ YF-23 โดย YF-22 พัฒนามาเพื่อความคล่องตัว ส่วน YF-23 จะเน้นสเตลมากกว่า ซึ่งผลสุดท้ายสหรัฐได้เลือก YF-22 ให้ชนะเนื่องจากการใช้งานที่หลากหลายกว่า
ตัวเครื่องบิน พัฒนาโดยเน้นหลักคอนเซปคือ เป็นเครื่องบินที่พัฒนาขึ้นมาโดยเน้นหลักความคล่องตัว + สเตล และสามารถใช้รันเวย์ธรรมดาได้ (พวก B2 ต้องใช้รันเวย์พิเศษ)
ในแรกเริ่มเดิมที สหรัฐตั้งใจว่าจะผลิตมาประจำการ 750 เครื่อง แต่เนื่องจากราคาที่สูงขึ้นเรื่อยๆหลังพัฒนา + ตังเริ่มหมด ยอดเป้าหมายที่ผลิตจึงน้อยลงเรื่อยๆ จนสุดท้ายผลิตใช้งานจริงแค่ 187 เครื่อง + เครื่องทดสอบอีก 8 เครื่อง
ตัวเครื่อง มีปัญหาด้านระบบออกซิเจนมาตั้งแต่ตอนพัฒนา ในขณะทดสอบนักบินทดสอบของ Lockheed Martin เสียชีวิตจากการหมดสติจากแรง G ขณะใช้ความเร็วเหนือเสียง ตัวเครื่องดีดออกทัน แต่เนื่องจากความเร็วที่สูงมาก จนทำให้นักบินเสียชีวิต
http://en.wikipedia.org/wiki/David_P._Cooleyปี 2010 มีนักบินเสียชีวิตอีกคน เนื่องจากระบบออกซิเจนหยุดการทำงาน จากการที่เครื่องบินโอเวอร์ฮีต แต่ทางบอร์ดโทษว่าเป็นความผิดของนักบินเองที่ไม่ยอมเปิดระบบออกซิเจนสำรอง จนโดนภรรยาหม้ายของนักบินฟ้องกลับว่าเครื่องบกพร่อง สนสุดท้าย Lockheed Martin เลยจะทำการปรับแก้เรื่องระบบออกซิเจนให้ ให้ทำงานเองอัตโนมัตรหลังเครื่องโอเวอร์ฮีต
http://usatoday30.usatoday.com/news/nation/story/2012/09/27/air-force-insiders-reported-f-22-oxygen-problems/57848214/1 http://news.slashdot.org/story/12/09/28/1829244/air-force-foresaw-fatal-f-22-problems-rejected-100000-fix-as-too-expensiveตัวเครื่อง อาวุธหลักๆจะบรรจุอยู่ในตัวเครื่อง เพื่อลดการตรวจจับโดยเรดาร์ แต่ถ้าจำเป็นก็สามารถนำอาวุธมาติดที่ปีกได้ แต่จะทำให้ประสิทธิภาพลดลง โดยฮาร์ดพอยย์มีทั้งหมด 4 จุด
โดยตัวเครื่อง นอกจากจะแพงแล้ว ค่าบำรุงรักษาเองก็แพงด้วย โโย 1 ใน 3 ของค่าบำรุงรักษาเป็นค่าซ่อมบำรุงระบบสเตล
ว่ากันที่ตัวโมบ้าง
ตัวโมหยิบมาทำเพราะจะลองใช้งานแอร์บรัชหัว 0.5 ดู แค่นั้นแหล่ะ
ตัวงานง่ายกว่าที่คิดนะ เสียแค่อุดขัดนี่แหล่ะเหนื่อยหน่อย เพราะปืนผ่ากลางทุกกระบอก ขัดกันเหนื่อยหน่อย ที่เหลือไม่มีอะไรมาก นอกจากสีมันที่ดูยากมาก พอดีตอนค้นข้อมูลไปเจอรุ่นสีเทาเข้า เลยรู้ว่าต้องมีกั้นพ่นเพิ่มหลายจุดเหมือนกัน แต่ดูไม่ออกเพราะรูปลงสีของโคโต กับภาพอนิเมมันดำหมด เลยแยกแยะสีไม่ค่อยออกระหว่างดำกับเทา
ตัวโมหลังทำเสร็จต้องมาอัดกาวข้อต่อกันนิดหน่อย แล้วก็เข้าใจเลยว่าทำไมหลายคนบอกข้อต่อสึกง่าย เพราะตัวจอยย์ใช้ระบบสลัก ใส่ไปแล้วดึงออกยากมาก แต่ตอนทำสีต้องถอดมัน สลักจอยย์เลยเสีย ทำให้หลวมลงนิดหน่อย ฉะนั้นโมซีรี่นี้ถ้าถอดๆ-เสียบๆ มากๆ ข้อต่อมันจะเริ่มหลวมน่ะแหล่ะ แต่อัดกาวข้อต่อไปหน่อยแล้วดีขึ้นเยอะ
งานสี
น้ำเงินดำ - สีเหลือๆ ดำนี่แหล่ะ ผสมน้ำเงินเพิ่ม พ่นไล่บนสีดำ สีไกอาทั้งหมด
ดำ - ดำ ไกอา
โครง - พ่นดำไปก่อน แล้วพ่นไล่ด้วน แอนทีคซิลเวอร์ของไกอาล
ฟ้าเซนเซอร์ - พ่น โครเมี่ยมของ Alcad แล้วพ่นทับด้วย พรีเมี่ยมบลูของไกอา ส่วนที่ตาทาเอา
เซนเซอร์ปืน ใช้พ่นเครียร์เหลือง + แดง ให้ออกส้มบนสติกเกอร์เงินแล้วแปะเอา เพราะขี้เกียจอุดขัดรอยต่อ แต่ดูแล้วเงาไปเฮะ ใช้สีฟลูออเรสเซนต์เยลโล่ดีกว่ามั๊ง แต่ขี้เกียแก้ละ 555
ปิดงานด้วยเครียร์ด้าน
จริงๆที่ขาต้องมีกั้นพ่นเซนเซอร์น้ำเงินเพิ่มด้วย มาเห็นทีหลังเลยไม่ทำ เพราะถ้าทำไปเวลาขยับสีก็ถลอกอยู่ดี
ดีคอล ผมติดแค่ที่ในกล่องให้มาน่ะ เพราะอยากเน้นความเป็นอนิเมกับคาแร็คเตอร์เป็นหลัก
กระทู้รีวิวก่อนทำสี :
http://www.thaigundam.com/forum/index.php?topic=32246.0มุมต่างๆ
จัมป์แพคกับแขนกล
ปืนกล ติดเกรเนด
ดีเทล
ดีคอลลายดาว ให้มาข้างเดียว จริงๆต้องติดสองข้าง โคโตเอ๊ย!!!!
แอคชั่นบ้าง
ติดเอฟเฟคของโคโต (ขายแยก)
มีด เป็นพาร์ทเปลี่ยนเอา
บินบ้าง
แขนกล โหมดทำงาน
เทียบไซส์
รวมๆก็สนุกดีนะ งานไม่ยากอย่างที่คิด ไม่เหนื่อยนรกแบบพวกอาเมอร์ดคอร์ แต่กลัวเรียกพวกจริงๆให้ตายสิ