กำลังฟิตเขียนข้อมูลลง blog ล่าสุดเป็นหัวข้อเก่าที่ผมเคยเขียนหลายรอบแล้ว ขอนำมาเรียบเรียงใหม่อีกครั้ง หัวข้อน่าเบื่อไปหน่อย แต่ถ้าว่างๆก็อ่านชิวๆ หวังว่าพอจะมีประโยชน์ครับ
อันตรายซ่อนเร้นที่มากับงานโมเดล
ในส่วนของความปลอดภัยเกี่ยวกับสี ตัวทำละลาย สามารถป้องกันได้ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางดังนี้
1. ตั้งแต่ต้นคือเลือกใช้ ตัวทำละลายที่มีพิษน้อยที่สุด
2. ตัวทำละลายจะระเหยเป็นปกติ แต่ถ้านำมาพ่นจะฟุ้งกระจายระเหยอย่างรวดเร็วดังนั้น การทาจะปลอดภัยกว่าการพ่น
3. สุดท้่ายถ้าสารระเหยฟุ้งออกมาแล้ว เราสามารถลดผลกระทบโดยการใช้พัดลมดูดอากาศออกจากตัวหรือใส่หน้ากากป้องกัน
(ข้อควรระวัง สารละลายหลายชนิดไม่เพียงระเหยและเข้าร่างการผ่านการสูดดม แต่สามารถดูดซึมผ่านผิวหนังได้ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการสัมผัส - อันนี้ถ้าซกมกหน่อย ผมเองก็เคย ทำเพลินๆ มือเปื้อนสี ทินเนอร์เละเทะไปหมด บางทีทินเนอร์หกใส่มือจนชุ่มก็ไม่รีบไปล้างออก :-( )
พูดถึงข้อแรกคือเรื่องตัวทำละลาย เราก็จำเป็นต้องรู้ก่อนว่าทินเนอร์ที่เราใช้อยู่มีส่วนผสมอะไรอยู่บ้าง
1. สีอคริลิค ตัวทำละลายคือน้ำ หรือ isopropyl alcohol
2. สี น้ำมัน ,enamel ตัวทำละลายคือ turpentine ,linseed oil ,mineral spirit
3. สีแลคเกอร์ ตัวทำละลายคือ toluene ,xylene ,methyl ethyl ketone (butanone),butyl acetate ,tricholoethane
(นอกจากสารที่ทำหน้าที่เป็นตัวทำละลายแล้วผู้ผลิตอาจใส่สารทำหน้าที่ลดแรงตึงผิว หรือตัวหน่วงการระเหยลงไปด้วย แต่เป็นสัดส่วนที่น้อย)
พอรู้ว่าสารทินเนอร์สำหรับสีแต่ละชนิดมีส่วนประกอบอะไรบ้างก็มาดูว่า สารในนั้นมีพิษอย่างไร
โดยสรุปนะครับ
1. ตัวทำละลายของสีสูตรอคริลิคคือ Ethyl alcohol มีฤทธิ์เป็นสารเสพติด และดูดซืมผ่านผิวหนังได้ ส่วน Isopropyl alcohol(แอลกอฮอลล้างแผล ) ก็สามารถระคายเคือง และมีพิษโดยเฉพาะถ้าได้รับผ่านการกิน
2. ตัวทำละลายของสีน้ำมันเช่น turpentine มีความเป็นพิษสูงมาก ทั้งผ่านการสูดดม และสามารถทำให้ไตวายได้ถ้ากินเข้าไป ,อาจเป็นสารก่อมะเร็ง ส่วน mineral spirit เป็นพิษน้อยกว่า แต่ก็สามารถทำให้ระคายเคือง
3. สารที่เป็นส่วนประกอบในทินเนอร์สูตรแลคเกอร์ เช่น toluene ,xylene ,methyl ethyl ketone (butanone) เกือบทุกตัวก่อให้เกิดอาการระคายเคือง เป็นสารเสพติด และอาจเป็นสารก่อมะเร็ง บางตัวมีพิษกับตับ ไต และบางตัวทำให้เด็กในครรภ์พิการหรือแท้งได้
แนวทางความปลอดภัยสำหรับสีแต่ละสูตร - แค่ตามความเห็นผมนะครับ
1. สำหรับสีอคริลิค ตอนทาผมไม่ได้ระวังอะไรเลย เพราะผสมแค่น้ำ ส่วนตอนพ่นซึ่งผสม alcohol ผมพ่นหน้า spray booth ถ้าไม่มีลมตีย้อนกลับมาจากนอกบ้าน ก็ต้องนับว่ากลิ่นน้อยมากๆครับ แทบไม่ได้กลิ่นเลย แต่ยอมรับว่าไม่ได้ใส่หน้ากากซึ่งผมว่าใส่แล้วน่ารำคาญมาก
2. ส่วนสีน้ำมันนี่จริงๆแล้ว ตัวทำละลายมันอันตรายน่าจะที่สุดนะครับ ทั้ง turpentine หรือ mineral spirit (white spirit) ส่วน OMS หรือ odorless mineral spirit เขาว่ากลิ่นอ่อนกว่า (ไม่แน่ใจว่าพิษจะน้อยกว่าหรือเปล่า) พวกนี้ระคายเคืองทางเดินหายใจ และมีพิษได้ถ้าสูดดมไปมากๆ ดังนั้นถ้านำมาทา ก็ควรทำในที่่อากาศถ่ายเท มีพัดลมดูดอากาศออกจากตัวก็ดี และถ้าไม่จำเป็นสีพวกนี้ไม่ควรนำมาพ่น เพราะมีสีสูตรอื่นที่ปลอดภัยกว่าสำหรับพ่นอยู่แล้ว สาเหตุก็คือการพ่นจะทำให้สารระเหยฟุ้งกระจาย มีโอกาสสูดดมเข้าไปมากกว่าทาซึ่งก็เพียงระเหยจากหลุมสีขึ้นมา
3. สีแลคเกอร์ซึ่งนิยมใช้กันมากเป็นอันดับต้นๆ ก็มีคัวทำละลายหลากหลาย ยี่ห้อที่ผลิตมาจากบริษัทโมเดลมักไม่ระบุส่วนผสม (ไม่รู้ผ่าน มอก. มาได้อย่างไร)
ผมก็คิดเอาเองว่าพวก AAA ทินเนอร์ก่อสร้าง (acrylic lacquer) น่าจะอันตรายที่สุด บางยี่ห้อผมเคยใช้เหม็นมาก ส่วนทินเนอร์แมงมุมของบริษัท Dupont เหม็นน้อยลงมา ออกจะหอมๆด้วย แต่ก็น่าจะอันตรายเช่นกัน สรุปคือถ้าเลือกได้ก็เลือกยี่ห้อที่ผลิตมากับงานโมเดล น่าจะรับประกันได้ระดับหนึ่งว่าเขาไม่ใช้สารที่อันตรายมากๆเป็นส่วนประกอบ ถ้านำมาทาก็แนะนำให้ทำในที่อากาศถ่ายเท มีพัดลมดูดอากาศออกจากตัว ส่วนถ้านำมาพ่นก็ต้องมี spray booth และใส่หน้ากากด้วย อย่างน้อยก็ตอนอัดเครียร์ หรือพ่นแบบ over spray ซึ่งสีจะฟุ้งสุดๆ
คำแนะนำอื่นๆเท่าที่ผมนึกออก
- นอกจากตัวตัวทำละลายสีที่มีพิษแล้ว กาวเชื่อมแผ่นอคริลิค(Dicholormethane) ,กาว cement ทั้งแบบใสและแบบข้น และ filler putty - putty อุด (มักมีสารกลุ่มเดียวกับตัวทำละลายสีสูตรแลคเกอร์) ก็มีพิษเวลาใช้งานก็ควรหลีกเลี่ยงการสูดดมเช่นกัน
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรือก่อให้เกิดประกายไฟใกล้บริเวณที่พ่นสี เพราะตัวทำละลายส่วนมากติดไฟ
- เก็บสารละลายต่างในที่มิดชิดโดยเฉพาะถ้ามีเด็กเล็กเล็ก เลี่ยงการเก็บสารละลายในขวดบรรจุน้ำเปล่าที่ดื่มหมดแล้ว
- สารละลายบางชนิดสามารถกระเด็นเข้าตา โดยเฉพาะกาว super glue (cyanoacrylate) ถ้าเป็นไปได้ควรใส่แว่นตาขณะทำ หรือหาแว่นนิรภัยมาใส่
ออกตัวว่าผมก็ไม่ได้อนามัยจัด ไม่เคยสัมผัสสารพวกนี้มาก่อนนะครับ ก่อนหน้านี้ผมก็ ทั้งจับทั้งดมมาแล้วแทบทุกอย่าง ทั้งทินเนอร์ AAA ก่อสร้างก็นำมาล้าง airbrush ต่อมาก็หันมาใช้แมงมุม กลิ่นดีขึ้นหน่อย หลงคิดว่าจะดี ต่อให้แม้แต่ทินเนอร์ gunze ก็เถอะ ตอนนั้นก็ไม่รู้ตัวครับ ไหนจะพวกกาวฝาเขียวฝาขาว ที่ใช้ตอนประกอบ ก็ทำในห้องแอร์ กลิ่นตลบ ผมคิดว่าถ้าผมเองไม่ได้ไปอ่านข้อมูลมา ผมก็คงทำแบบเดิมต่อไปได้อีกหลายปีครับ คิดว่าเรื่องอันตรายนี่ไม่สามารถใช้ประสบการณ์สั่งสมเรียนรู้ได้
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่อยากให้กลัวจนเล่นโมไม่สนุก เพราะความกลัวน่าจะเกิดจากความไม่รู้ ทีนี้พอเรารู้แล้วว่าอันตรายอยู่ตรงไหน ป้องกันอย่างไร น่าจะเล่นโมได้สนุกขึ้นโดยไม่ต้องพะวงเริ่องสุขภาพ ทั้งของตัวเราเองและคนรอบข้าง เรียกว่าที่เหลือก็ลุยทำโมได้อย่างเต็มที่ไม่ต้องกลัวเกินเหตุ ถ้าเราป้องกันดีแล้ว ... อันนี้ไม่นับอันตรายซ่อนเร้นที่มากับโมเดลอย่างสุดท้าย คือ เล่นไปนานๆทรัพย์จะจางได้ อิอิ
-----------
ติดตามอ่านบทความเรื่องสี อื่นๆได้ที่ blog ผมครับ ->
http://thaimodel-kit.blogspot.com/search/label/paint